ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Silk tree
Silk tree
Albizia chinensis (Osbeck) Merr.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Leguminosae (Mimosaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia chinensis (Osbeck) Merr.
 
  ชื่อไทย สารคำ, กางหลวง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ตุ๊ดรึด(ขมุ), กะบือบิ๊(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), กาง(คนเมือง), เก๊าสาร(คนเมือง), ปือ(กะเหรี่ยง) - เย้ (อีก้อ- เชียงใหม่) อิโซะ (มูเซอร์ – เชียงใหม่) ป๊อ, ป๊อเกาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กางหลวง , สางดำ (เหนือ) สารเงิน (เชียงใหม่) ค้างฮุง (ขอนแก่น) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม.
ลำต้น มีเรือนยอดแผ่กว้าง ด้านบนค่อนข้างเสมอกัน เปลือกลำต้นสีเทาอ่อนหรือสีครีมถึงเทาคล้ำ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีก้านใบชั้นใน 10-15 คู่ ก้านใบยาวที่สุดมีใบย่อย 15-30 คู่ใบย่อยเล็กไม่มีก้าน รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 2-3 มม. ยาว 6-10 มม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบมน เบี้ยว ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 4-14 เส้น เส้นใบหลักไม่สมมาตร อยู่ใกล้ขอบใบด้านบนของใบย่อย หูใบเป็นแผ่นใหญ่โดยเฉพาะบริเวณยอดอ่อน
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกโคนใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกแตกแขนงเป็นช่อย่อย หูใบเป็นแผ่นใหญ่โดยเฉพาะบริเวณยอดอ่อน ดอกออกเป็นช่อกระจุกจากโคนใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกย่อยยาว 1-3 ซม. ดอกย่อยสีขาวหรือขาวอมเหลือง ไม่มีก้าน มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกย่อยที่อยู่ตามขอบข้อดอกสมบูรณ์เพศ ที่อยู่ตรงกลางเป็นดอกเพศผู้ ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ชั้นกลางดอกยาวกว่าชั้นกลีบเลี้ยง 2-3 เท่า เกสรเพศผู้ 10-25 มม. มีเป็นจำนวนมาก โคนเชื่อมกันเป็นท่อ โดยดอกย่อยตรงกลางมีเกสรเพศผู้สั้นกว่าและแน่นหนากว่าย่อยรอบนอก รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ก้านเกสรยาวคล้ายเส้นด้าย
ผล เป็นฝักแบบมากคล้ายกระถิ่น กว้าง 1.5 – 2.0 ซม ยาว 7-15 ซม เวลาแห้งไม่แตกออก มีสีเหลืองอมส้ม หรือน้ำตาลอมเหลือง เมล็ดแบบ ขนาดประมาณ 0.7 ซม ผิวเป็นมัน สีน้ำตาลแก่ [8]
 
  ใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีก้านใบชั้นใน 10-15 คู่ ก้านใบยาวที่สุดมีใบย่อย 15-30 คู่ใบย่อยเล็กไม่มีก้าน รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 2-3 มม. ยาว 6-10 มม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบมน เบี้ยว ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 4-14 เส้น เส้นใบหลักไม่สมมาตร อยู่ใกล้ขอบใบด้านบนของใบย่อย หูใบเป็นแผ่นใหญ่โดยเฉพาะบริเวณยอดอ่อน
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อกระจุกโคนใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกแตกแขนงเป็นช่อย่อย หูใบเป็นแผ่นใหญ่โดยเฉพาะบริเวณยอดอ่อน ดอกออกเป็นช่อกระจุกจากโคนใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกย่อยยาว 1-3 ซม. ดอกย่อยสีขาวหรือขาวอมเหลือง ไม่มีก้าน มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกย่อยที่อยู่ตามขอบข้อดอกสมบูรณ์เพศ ที่อยู่ตรงกลางเป็นดอกเพศผู้ ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ชั้นกลางดอกยาวกว่าชั้นกลีบเลี้ยง 2-3 เท่า เกสรเพศผู้ 10-25 มม. มีเป็นจำนวนมาก โคนเชื่อมกันเป็นท่อ โดยดอกย่อยตรงกลางมีเกสรเพศผู้สั้นกว่าและแน่นหนากว่าย่อยรอบนอก รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ก้านเกสรยาวคล้ายเส้นด้าย
 
  ผล ผล เป็นฝักแบบมากคล้ายกระถิ่น กว้าง 1.5 – 2.0 ซม ยาว 7-15 ซม เวลาแห้งไม่แตกออก มีสีเหลืองอมส้ม หรือน้ำตาลอมเหลือง เมล็ดแบบ ขนาดประมาณ 0.7 ซม ผิวเป็นมัน สีน้ำตาลแก่
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ขมุ,คนเมือง)
- เปลือกต้น ถากออกแล้วน้ำไปแช่น้ำ ใช้เบื่อปลา หรือใช้ทำน้ำหมัก พ่นไล่แมลง(คนเมือง)
- เปลือกต้น ถากเป็นขุย แล้วแช่น้ำ มีฟองเล็กน้อย ใช้สระผม(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  อ้างอิง 1. เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
2. ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
3. http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=1141
 
  สภาพนิเวศ พบในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่ากึ่งดงดิบและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,800 ม. ออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง